วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)_บรรษัทภิบาล (CSR)

ความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาต

          นอก จากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธนชาต ที่มุ่งมั่นในการสร้างผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นแล้ว เรื่องธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมยังเป็นอีกเป้าหมายที่กลุ่มธนชา ตได้ให้ความสำคัญ โดยยึดถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก 6 ประการของกลุ่มธนชาต (CEO’s Six-Point Agenda) ที่ทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญ   

          ใน การดำเนินงานของกลุ่มธนชาต ตลอด 28 ปีที่ผ่านมา ได้ยึดมั่นในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคมจะช่วยให้ธุรกิจมีความยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้มีข้อบังคับใดๆ กำหนดไว้ก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่กลุ่มธนชาต ได้ทำด้วยความสมัครใจ โดยมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป็นผู้นำในการผลักดันอย่างจริงจัง ซึ่งหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาตนี้ อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ในเรื่อง CSR ที่ว่า

          “เติบโตอย่าง ยั่งยืนและมีคุณธรรม พร้อมมีส่วนร่วมในการสนับสนุน หรือช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นและสังคมอย่างเข้าใจ ตั้งใจจริง และต่อเนื่อง จากความร่วมมือกับ พนักงาน พันธมิตร ชุมชนในท้องถิ่น และสังคม”

          ทั้งนี้ กลุ่มธนชาต ได้แยกแนวทางในการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ออกได้เป็นภาพใหญ่ๆ 2 ด้าน ดังนี้

        
  1. ในการดำเนินธุรกิจปกติขององค์กร (Business for Social Responsibilities) ซึ่ง เป็นไปตามวิสัยทัศน์ในเรื่อง CSR ที่ว่าต้องเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณธรรม โดยตลอด 28 ปี ที่ได้ดำเนินธุรกิจการเงินมานั้น ธนชาตได้ยึดมั่นที่จะไม่สนับสนุนธุรกิจใดที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นภัยต่อสังคม ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจโดยปกติที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้ยึด ถือปฏิบัติมา มีดังนี้

              1.1 การดำเนินงานของทุกบริษัทในกลุ่มธนชาต จะไม่สนับสนุนหรือทำธุรกิจร่วมกับองค์กรใดๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
              1.2 เคร่งครัดในจริยธรรมและศีลธรรมอันดี ในทุกระดับขององค์กร
              1.3 การขายผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ จะต้องเปิดเผยทุกข้อจำกัดหรือเงื่อนไขให้แก่ลูกค้าทราบตั้งแต่แรกอย่างชัดเจน
              1.4 ปกป้องข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของลูกค้า และปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้าอย่างเคร่งครัด
              1.5 อาคารสถานที่ ต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน
              1.6 ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดการสิ้นเปลืองในการใช้กระดาษ
              1.7 ลดการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
              1.8 สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร

          2. การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR Activities) โดยกิจกรรมเหล่านี้อาจเป็นการดำเนินการเอง หรือการชักชวนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมในกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เนื่องจากกลุ่มธนชาตดำเนินธุรกิจด้านการเงิน ไม่ได้มีความชำนาญในทุกๆ เรื่อง ในบางกิจกรรมอาจจะต้องสร้างพันธมิตรในการดำเนินงาน เพื่อให้กิจกรรมนั้นบรรลุจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมถึงการชักชวนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ต่างๆ มาร่วมเพื่อให้กิจกรรมเพื่อสังคมประสบความสำเร็จในวงกว้าง นอกจากนั้นแล้ว ต้องเป็นการให้ที่ตรงจุด โดยเน้นผู้รับเป็นศูนย์กลางของการออกแบบกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

              2.1. Central CSR  เป็นกิจกรรมสังคมของส่วนกลาง ซึ่งจะริเริ่มโครงการจากส่วนกลาง สำหรับการดำเนินการอาจจะเป็นการดำเนินการโดยส่วนกลาง หรือมีส่วนร่วมจากแต่ละสำนักงานภาค ( Hub )  โดยขอบเขตของกิจกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มธนชาต ได้พิจารณาจากความเกี่ยวเนื่องหรือความผูกพันกับธุรกิจ ทำให้สามารถแบ่งกิจกรรมออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมดังนี้                     1. เพื่อการศึกษาหรือการพัฒนาเยาวชน
                    2. เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม
                    3. เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน  
                    4. เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม

           
 2.2  Hub CSR เป็นกิจกรรมสังคมของแต่ละสำนักงานภาคในภูมิภาค และฝ่ายเครือข่ายสาขาในกรุงเทพฯ (Hub) ของธนาคารธนชาต ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธนชาตเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นที่ยอมรับใน สังคมที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ ดังนั้นกิจกรรมของแต่ละ Hub นั้นจะมีความแตกต่างกันไป ตามความต้องการหรือวัฒนธรรมท้อง ถิ่นในสังคมนั้นๆ Hub CSR จึงเป็นกิจกรรมที่ศึกษาและริเริ่มโดยแต่ละ Hub โดยการพิจารณาและอนุมัติจากส่วนกลาง สำหรับการดำเนินกิจกรรมนั้น จะดำเนินการโดยสำนักงานภาคแต่ละแห่ง และได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น