วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)_การบริหารความเสี่ยง

ประเภทความเสี่ยงที่สำคัญของธนาคารธนชาต มีดังนี้
1. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)
ความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่
ลูกหนี้หรือคู่สัญญามีการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ โดยอาจเกิดจากการประสบปัญหา
ทางการเงินของลูกหนี้ จากความผันผวนทางเศรษฐกิจซึ่งส่ง
ผลกระทบต่อธุรกิจ ความผิดพลาดในการบริหารจัดการของ
ลูกหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของ
ธนาคารธนชาต และบริษัทย่อย ความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้น
ได้ทั้งจากการทำธุรกรรมทางการเงินโดยปกติ เช่น การให้กู้ยืม
หรือให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน หรือการค้ำประกัน ธุรกรรม
อื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้เครดิตและการลงทุนในหลักทรัพย์
ประเภทตราสารหนี้ (Debt Instrument) ที่ออกโดยองค์กรของ
รัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลหรือ ธปท. ไม่ค้ำประกัน และองค์กร
เอกชน เช่น หุ้นกู้ เป็นต้น
ภายใต้นโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยง
ด้านเครดิต ธนาคารธนชาตได้สร้างวัฒนธรรมทางด้านเครดิต
เริ่มจากการจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้
หรือคู่สัญญาหรือผู้ออกตราสารประเภทหนี้ โดยใช้แบบ
วิเคราะห์ความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นตามความเหมาะสมของ
ประเภทคู่สัญญาและมอบหมายให้หน่วยงานวิเคราะห์สินเชื่อ
ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงด้วยแบบ
วิเคราะห์ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการที่มีอำนาจในการ
พิจารณาสินเชื่อจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความ
เสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้หรือคู่สัญญา วงเงินสินเชื่อหรือลงทุนที่
เหมาะสมและเงื่อนไขต่างๆ ในการให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพัน
รวมทั้งควบคุมสถานะความเสี่ยงทั้งในระดับภาพรวม ด้วยการ
กระจายความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อไปยังแต่ละส่วนธุรกิจและ
กลุ่มลูกค้าต่างๆ กันอย่างเหมาะสม ภายใต้ระดับเพดานความ
เสี่ยงที่กำหนดไว้ ตลอดจนติดตามดูแลคุณภาพสินเชื่อให้มีการ
จัดการอย่างเหมาะสม ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เน้นการพิจารณาศักยภาพของธุรกิจและความ
สามารถในการชำระหนี้คืนเป็นปัจจัยสำคัญ โดยมีหน่วยงาน
ควบคุมความเสี่ยง ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบ
การทำธุรกรรมด้านเครดิตให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทาง
บริหารความเสี่ยงด้านเครดิต และมีหน่วยงานตรวจสอบ
ติดตามให้มีการสอบทานสินเชื่อตามแนวทางของ ธปท.
เพื่อให้ผลตอบแทนสอดรับกับความเสี่ยงที่ได้รับ ธนาคาร
ธนชาตมีการนำเครื่องมือในการวัดผลตอบแทนหลังหัก
ค่าความเสี่ยงต่อเงินกองทุนหรือ RAROC (Risk Adjusted
Return on Capital) มาใช้ นอกจากนี้ ธนาคารธนชาตจัดให้มี
การทดสอบภาวะวิกฤตหรือ Stress test เพื่อคาดการณ์ความ
เสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภาวะวิกฤตที่จะส่งผลให้ลูกหนี้มีความ
สามารถในการชำระหนี้ลดลงหรือไม่สามารถชำระหนี้ตาม
เงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาตามสมมติฐาน และปัจจัยเสี่ยง
ต่างๆ ที่กำหนดขึ้นให้มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจในภาค
อุตสาหกรรมที่ลูกหนี้ดำเนินธุรกิจอยู่
ปัจจัยความเสี่ยงด้านเครดิตที่สำคัญ มีดังนี้
1.1 ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อ
ธนาคารธนชาตมีเป้าหมายในการกระจายสินเชื่อให้แก่
กลุ่มลูกค้าต่างๆ โดยเน้นในกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพดีและ
พยายามควบคุมไม่ให้เกิดการกระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
มากจนเกินไป มีการบริหารความเสี่ยง Portfolio ของสินเชื่อ
โดยรวม มีการติดตามวิเคราะห์และรายงานผลต่อคณะกรรมการ
ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดขึ้น
จากปัจจัยอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้มากระทบกับธุรกิจกลุ่มใด
กลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารธนชาตใน
สัดส่วนที่มากเกินไป__
1.3 ความเสี่ยงจากหลักประกัน
สำหรับการให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน ธนาคาร
ธนชาตกำหนดให้มีการวิเคราะห์และจัดระดับคุณภาพของหลัก
ประกันแต่ละประเภท โดยพิจารณาถึงสภาพคล่องและความ
เสี่ยงของหลักประกันนั้น และนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปใช้
เป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดระดับความเสี่ยงของสินเชื่อ ทั้งนี้ หลัก
ประกันดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์
จะมีการประเมินมูลค่าโดยการประเมินราคาหรือตีราคาหลัก
ประกันตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดไว้ โดยประเภทของหลัก
ประกันที่สำคัญของธนาคารธนชาต ได้แก่ เงินฝากและตั๋วแลกเงิน
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดหลักทรัพย์นอกตลาด
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่
อาศัย ยานพาหนะ เครื่องจักร เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารธนชาต
กำหนดแนวทาง มาตรฐาน และความถี่ในการประเมินราคา
และตีราคาหลักประกันแต่ละประเภท รวมทั้งกำหนดให้มีการ
จัดทำรายงานการประเมินราคาและตีราคาที่มีข้อมูล และการ
วิเคราะห์ที่ชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจกำหนดราคา
ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ว่ามูลค่าของหลักประกันนั้นลดลง หรือมี
การเสื่อมราคาตามอายุการใช้งาน จะต้องมีการพิจารณาการ
ด้อยค่าของสินทรัพย์อื่นที่เป็นหลักประกันโดยเจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้อง
ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกรรมสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของ
ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง
ตามประกาศ ธปท. เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
เมื่อเดือนธันวาคม 2549 ได้กำหนดเกณฑ์การกันสำรองให้
สอดรับกับ IAS39 สามารถนับรถยนต์เป็นหลักประกันได้ ซึ่งรถยนต์
ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย หากลูกหนี้
ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยสามารถ
ดำเนินการครอบครองสินทรัพย์ได้ในทันทีเพื่อขายต่อในตลาด
รถยนต์ใช้แล้ว ดังนั้น ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยอาจมี
ความเสี่ยงจากการไม่สามารถยึดรถยนต์ที่เป็นหลักประกันได้
รวมทั้งความเสี่ยงจากการจำหน่ายรถยนต์ แต่ไม่สามารถ
ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง เช่น
สภาวะตลาดรถยนต์ใช้แล้ว สภาพของรถยนต์ที่ได้ยึดมา
เป็นต้น
1.4 ความเสี่ยงจากการค้ำประกันและการอาวัล
ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยได้ให้บริการกับลูกค้าที่
ก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการรับอาวัลตั๋วเงิน เล็ตเตอร์ออฟ
เครดิต การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งธนาคารธนชาตและบริษัท
ย่อยมีความเสี่ยงจากการที่ต้องเข้าไปรับผิดชอบแทนลูกค้า ใน
กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา สำหรับความเสี่ยงที่
เกิดจากการค้ำประกันและการอาวัล ธนาคารธนชาตได้ดูแล
และควบคุมความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการตรวจสอบข้อมูล โดยใช้
หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติที่เข้มงวด ตลอดจนควบคุมและ
ติดตาม โดยใช้แนวทางเดียวกับการให้สินเชื่อตามปกติของ
ธนาคารธนชาต
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ธนาคารธนชาตและบริษัท
ย่อยมีภาระผูกพันจากการรับอาวัลตั๋วเงิน และการค้ำประกัน
การกู้ยืมเงิน จำนวน 28,337 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.25
ของสินทรัพย์ทั้งหมด
2. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)
ความเสี่ยงด้านตลาด คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการ
เคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศ และราคาตราสารในตลาดเงินตลาดทุนที่มี
ผลกระทบในทางลบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคาร
ธนชาตและบริษัทย่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ความเสี่ยงด้านราคา ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และความ
เสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยธนาคารธนชาตมีนโยบาย
ในการควบคุมและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
และเป็นไปตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธนาคารธนชาต
2.1 ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk)
เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนได้รับผลกระทบ
ในทางลบ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้และ
ตราสารทุน ทำให้มูลค่าของเงินลงทุนเพื่อค้าและเผื่อขายของ
ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยลดลง
ธนาคารธนชาตได้พัฒนาเครื่องมือในการวัดความเสี่ยง
โดยใช้แบบจำลองของ Value-at-Risk (VaR Model) เพื่อวัดผล
ขาดทุนสูงสุด ณ ระดับความเชื่อมั่นหนึ่งๆ หากถือครอง
หลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ธนาคาร
ธนชาตมีการกำหนด Limit ต่างๆ ในการทำธุรกรรมเพื่อควบคุม
ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ธนาคารธนชาตรับได้ เช่น Position
Limit, Loss Limit และ VaR Limit เป็นต้น โดยมีหน่วยงาน
ควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) ซึ่งแยกออกจาก
หน่วยงานที่ทำธุรกรรม (Front office) และหน่วยงานที่บันทึกรายการ
(Back office) ทำหน้าที่ควบคุมความเสี่ยงและรายงานสถานะ
Limit ต่างๆ ต่อคณะกรรมการ หน่วยงาน หรือผู้บริหารต่างๆ ที่
เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารความเสี่ยงได้ทันท่วงที ธนาคารธนชาต
มอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนเป็นผู้ควบคุม
และติดตามความเสี่ยงด้านนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือ
ดังกล่าวมีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำ ธนาคารธนชาต
กำหนดให้มีการทดสอบเครื่องมือด้วยการทำ Backtesting โดย
ใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ Bank for International Settlement
(BIS) กำหนด นอกจากนี้ ธนาคารธนชาตมีการจำลอง
เหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการลดลงของราคา
หลักทรัพย์ในตลาดอย่างรุนแรงเฉียบพลัน หรือทำการทดสอบ
ภาวะวิกฤต Stress Test เพื่อให้คาดการณ์ได้ว่าความเสียหาย
ที่อาจเกิดขึ้นมีผลต่อรายได้และเงินกองทุนอย่างไร
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 เงินลงทุนที่มีไว้เพื่อค้าและ
เผื่อขายของธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยจำแนกตามประเภท
เงินลงทุน เป็นดังนี้__
จากการที่ธนาคารธนชาตเข้าซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย
ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพื่อค้าและเผื่อขายของธนาคารธนชาต
และบริษัทย่อยเพิ่มมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ค่าความ
เสี่ยงด้านราคาโดยรวมของธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น
2.2 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)
เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนได้รับผลกระทบ
ในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของรายการ
สินทรัพย์ และรายการนอกงบดุลทั้งหมดที่มีความอ่อนไหว
ต่ออัตราดอกเบี้ย (Rate Sensitive Items) ในระยะเวลาต่างๆ
กันในระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้
ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Income) ของธนาคารธนชาต
และบริษัทย่อย
ธนาคารธนชาตมีเป้าหมายที่จะดำเนินงานภายใต้ระบบ
บริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพระยะยาว
คือ สามารถรักษาระดับความสัมพันธ์ของสัดส่วนโครงสร้างของ
สินทรัพย์และหนี้สินที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยในช่วงระยะ
เวลาต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน
และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคารธนชาตและผู้ถือหุ้น
ธนาคารธนชาตจึงพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดความเสี่ยงด้านอัตรา
ดอกเบี้ยเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
ความเหลื่อมล้ำระหว่างระยะเวลาของการปรับอัตราดอกเบี้ย
(Reprice) ในสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันในแต่ละช่วง
เวลา (Interest Rate Gap Analysis) ซึ่งจะมีการวัดความเสี่ยง
ประจำทุกเดือน เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารธนชาตมี
ความเสี่ยงอยู่ในขอบเขตที่สามารถยอมรับได้ จึงได้จัดให้มีการ
กำหนดระดับเพดานความเสี่ยง และระดับสัญญาณเตือนภัยที่
ยอมรับได้โดยพิจารณาจากโครงสร้างของสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ภาระผูกพัน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Reprice) ที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาตามแผนธุรกิจของธนาคาร
ธนชาต และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารสภาพคล่อง
และอัตราดอกเบี้ย ควบคุมและติดตามความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
โดยมีการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ภาวะตลาดเงินและ
ตลาดทุน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจเป็นสาเหตุของปัจจัย
ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ใน
การรองรับความเสี่ยง
สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2553 วิเคราะห์ตามระยะเวลาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
ตามสัญญาของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของธนาคารธนชาต
และบริษัทย่อย
จากโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินข้างต้น
หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันจะ
ทำให้มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสำหรับช่วงเวลา 1 ปีข้างหน้าปรับ
ลดลง อันเนื่องมาจากการขยายธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคาร
ธนชาตซึ่งอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยคงที่
2.3 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange
Rate Risk)
เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนของธนาคาร
ธนชาตหรือบริษัทย่อย ได้รับผลกระทบในทางลบ เนื่องจาก
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจากการทำธุรกรรมในสกุล
เงินต่างประเทศหรือจากการมีสินทรัพย์หรือหนี้สินในเงินสกุล
เงินต่างประเทศ แบ่งเป็น ความเสี่ยงที่เกิดจากการทำธุรกรรม
สกุลเงินต่างประเทศ (Transaction Risk) และความเสี่ยงที่เกิด
จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าจากเงินสกุลเงินต่างประเทศเป็น
สกุลเงินท้องถิ่น (Translation Risk)
ธนาคารธนชาตมอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย เป็นผู้ควบคุมและติดตามความ
เสี่ยงประเภทนี้ โดยการพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่าง
โครงสร้างและอายุครบกำหนดของสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็น
เงินตราต่างประเทศ ประกอบกับธนาคารธนชาตมีนโยบายใน
การกำหนดระดับเพดานความเสี่ยง เพื่อควบคุมผลกระทบของ
การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนต่อรายได้และเงินกองทุน
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารธนชาต
มีนโยบายที่จะปิดความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น
สัญญาแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เป็นต้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย
มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในระดับต่ำ เนื่องจาก
สินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่ ธนาคารธนชาต
และบริษัทย่อยได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อป้องกัน
ความเสี่ยงดังกล่าว
3. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่
ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย ไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระ
ผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินเป็น
เงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถ
จัดหาเงินทุนได้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคารธนชาต
และบริษัทย่อยในปัจจุบันและในอนาคต โดยกลไกการบริหาร
ความเสี่ยงจะเริ่มจากการประเมินกระแสเงินสดและฐานะสภาพ
คล่องในแต่ละช่วงเวลาที่ธนาคารธนชาตอาจมีความต้องการ
เงินทุนแตกต่างกัน เพื่อรองรับการถอนเงินฝาก การลดหนี้สิน
ประเภทอื่นลง หรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ โดยใช้เครื่องมือทั้งที่
เป็นแบบจำลองวิเคราะห์สภาพคล่อง (Liquidity Gap Analysis)
อัตราส่วนด้านสภาพคล่องต่างๆ ตลอดจนการใช้สถานการณ์
จำลองโดยการตั้งสมมติฐาน (What if Scenarios) เพื่อ
วิเคราะห์ถึงผลกระทบว่า ธนาคารธนชาตจะยังคงมีสภาพคล่องที่
เพียงพอหรือไม่ ภายใต้กระแสเงินสดที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของ
ลูกค้าในการต่ออายุสัญญาเมื่อครบกำหนด นอกจากนี้ ยังได้
ประมาณการความต้องการสภาพคล่องภายใต้สมมติฐานที่
แตกต่างกันตามภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ไม่ปกติต่างๆ ที่
เกิดขึ้นกับธนาคารธนชาตเองและเกิดกับระบบสถาบันการเงิน
รายการ
รายงานประจำปี 2553 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 􀀪􀀬
ขณะเดียวกัน ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อยมีการจัดทำ
แผนรองรับเหตุฉุกเฉินไว้รองรับกรณีเกิดปัญหาสภาพคล่องและ
จะมีการทบทวนเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่จะมีผลต่อการดำเนินงาน
ตามแผน ทั้งนี้ การควบคุมและติดตามความเสี่ยงด้านสภาพ
คล่อง ธนาคารธนชาตได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะจัดให้มี
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย
มีเงินฝากและเงินกู้ยืมรวม 748,150 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุน
ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากจากประชาชน ซึ่งมีระยะเวลาครบกำหนด
ตามสัญญาไม่เกิน 1 ปี อันเป็นลักษณะโครงสร้างการทำธุรกิจ
เป็นปกติทางการค้าของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดีธนาคาร
ธนชาตได้มีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Financial Product)
การประชุมเพื่อติดตามสถานะและบริหารจัดการความเสี่ยง
เป็นประจำทุกสัปดาห์
โครงสร้างแหล่งเงินทุนของธนาคารธนชาต ซึ่งจำแนก
ตามประเภทของแหล่งที่มาของเงินทุนและระยะเวลาของแหล่ง
เงินทุน เป็นดังนี้
4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความ
เสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดี ขาด
ธรรมาภิบาลในองค์กร หรือขาดการควบคุมที่ดีที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์
ภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้จากการดำเนินงานและเงิน
กองทุนของธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย รวมถึงความเสี่ยง
ด้านกฎหมาย เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหรือดำเนินคดี
ตามกฎหมาย ถูกทางการเปรียบเทียบปรับ รวมทั้งความเสียหาย
ที่ได้รับจากการตกลงกันนอกชั้นศาล เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงด้าน
ปฏิบัติการจะมีผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านอื่น โดยเฉพาะความ
เสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) และด้านชื่อเสียง
(Reputation Risk)
ธนาคารธนชาตได้กำหนดนโยบายและแนวทางการ
บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันและ
ติดตามดูแลความเสี่ยงประเภทนี้ และเนื่องจากการควบคุมภายใน
เป็นกลไกสำคัญในการควบคุมและป้องกันความเสียหายที่อาจ
เกิดขึ้น ธนาคารธนชาตจึงจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดี อัน
ได้แก่
การจัดโครงสร้างองค์กร ธนาคารธนชาตมีการกำหนด
บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งงานให้มีการ
สอบยันและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance)
โดยแยกหน่วยงานที่ทำธุรกรรม (Front office) ออกจากหน่วยงาน
ที่ทำหน้าที่ควบคุมและติดตามความเสี่ยง (Middle office)
ซึ่งได้แก่ ฝ่ายควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Department)
กับหน่วยงานที่บันทึกรายการ (Back office)
การจัดให้มีหน่วยงานสนับสนุนการทำธุรกรรม เช่น
หน่วยงานระบบสารสนเทศ หน่วยงานกฎหมาย หน่วยงาน
ประเมินราคา ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านและเป็นอิสระ เพื่อ
ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
รายการ
รายงานประจำปี 2553 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 􀀪􀀮
การจัดให้มีระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทำ
ธุรกรรมทุกประเภท และคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงาน
ตลอดจนระเบียบอำนาจอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็น
แนวทางในการทำงานภายในองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งหมด
การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและคณะ
กรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อควบคุม ติดตาม และประเมิน
ความเสี่ยงของธนาคารธนชาต ตรวจสอบข้อผิดพลาด ปรับปรุง
แก้ไขจุดบกพร่องให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบ
รักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การรองรับการขยายตัวของธุรกิจและสร้างความน่าเชื่อถือให้
แก่ลูกค้าทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านข้อมูล โดยเฉพาะการ
ป้องกันความเสียหายจากการลักลอบเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่
ไม่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง
(Business Continuity Plan) ประกอบด้วย แผนฉุกเฉิน แผน
ระบบสำรอง และแผนการฟื้นฟูการดำเนินงาน เพื่อควบคุม
ไม่ให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก รวมทั้งจัดให้มีการซักซ้อม เพื่อ
ทดสอบความพร้อมของแผนและเพื่อการปรับปรุงแผนให้
สามารถปฏิบัติงานได้จริงและมีประสิทธิภาพ
ประกอบกับการที่ธนาคารธนชาตมีการใช้บริการจาก
บุคคลภายนอกดำเนินการแทนในบางกลุ่มกิจกรรมเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินใน
ปัจจุบันและในอนาคต ธนาคารธนชาตได้มีการกำหนดนโยบาย
เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจากบุคคลภายนอก
(Outsourcing) ขึ้น โดยนโยบายดังกล่าวนอกจากจะมีแนวทาง
การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อบังคับในเรื่องเดียวกันที่ออก
โดย ธปท. แล้ว และยังเพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายในของ
ธนาคารธนชาตด้วย
สำหรับการวัดและประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ธนาคารธนชาตมีการกำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบ หรือเงื่อนไข
ของวิธีการที่ใช้ในการวัดและประเมินความเสี่ยงภายในของ
ธนาคารธนชาตเอง โดยวิธีการดังกล่าวธนาคารธนชาตมีการ
พิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น แนวทางการกำกับดูแล
ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับธนาคารธนชาต ลักษณะ
และความซับซ้อนของธุรกิจ ความสามารถในการยอมรับความ
เสี่ยงของธนาคาร โอกาสและ/หรือความถี่ (Probability,
Likelihood หรือ Frequency) ตลอดจนผลกระทบ (Impact
หรือ Severity) ของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น/อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้
ตามที่ ธปท. กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงินกองทุนเป็น
อัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้าน
ปฏิบัติการตามแนวทางของ Basel II นั้น ธนาคารธนชาตได้
เลือกวิธีการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี Basic
Indicator Approach
นอกจากนี้ ในการติดตามดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ธนาคารธนชาตกำหนดเป็นนโยบายให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน
มีความรับผิดชอบในการติดตามความเสี่ยง โดยถือเป็น
ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามปกติ ซึ่งจะช่วยให้รับทราบถึง
ความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และเพื่อให้สามารถ
ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
และทันท่วงที ไม่ส่งผลเสียหายต่อธนาคารธนชาต ถึงกระนั้น
ก็ดี เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและปัญหาที่เกิดขึ้น
ตลอดจนแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลปัจจัยเสี่ยง
ธนาคารธนชาตจึงจัดให้มีการจัดเก็บและรายงานข้อมูลในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่น ข้อมูล
เหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้น (Loss data) ดัชนีชี้วัดความ
เสี่ยง (Key Risk Indicators) จุดที่มีความเสี่ยงสำคัญ เป็นต้น
เสนอต่อคณะกรรมการธนาคารธนชาต คณะกรรมการบริหาร
ความเสี่ยง และผู้บริหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เพื่อใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและพัฒนาระบบบริหาร
ความเสี่ยงให้เหมาะสม และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ธนาคาร
ธนชาตประเมินความสามารถของระบบควบคุมภายในว่า
มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดอีกทางหนึ่งด้วย
􀀫􀀥 รายงานประจำปี 2553 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
5. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการ
กำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติ
ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายใน และสภาพ
แวดล้อมภายนอก อันส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุนหรือ
การดำรงอยู่ของธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย ในการบริหาร
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ธนาคารธนชาตจัดให้มีการทำแผน
กลยุทธ์สำหรับช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า และจัดให้มีการทบทวน
แผนงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ภายนอกที่
อาจส่งผลกระทบถึงการบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ โดยคณะกรรมการ
บริหารเป็นผู้ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ
เปรียบเทียบกับแผนงานประจำปีที่กำหนดเป้าหมายไว้อย่าง
สม่ำเสมอ
6. ความเสี่ยงจากมาตรการหรือกฎระเบียบของทางการ
ความเสี่ยงจากมาตรการหรือกฎระเบียบของทางการ
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ธปท. ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายแต่ละครั้งอาจส่งผลกระทบ
ต่อกลยุทธ์ และการดำเนินธุรกิจของธนาคารธนชาตและ
บริษัทย่อย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ
ของทางการที่เกี่ยวข้องในปี 2553 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นการ
ปรับปรุงมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมให้สถาบันการเงิน
มีหลักธรรมาภิบาลที่ดี มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น และให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองลูกค้ามากขึ้น
จึงไม่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
ธนชาตมากนัก ซึ่งตลอดมาธนาคารธนชาตได้มีการปรับปรุง
และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานภายในและมาตรฐานการ
ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และเป็นภารกิจ
ที่สำคัญที่ธนาคารธนชาตจะต้องดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับ
หลักเกณฑ์และข้อบังคับของทางการ
7. ความเสี่ยงจากความเพียงพอของเงินกองทุน
ธนาคารธนชาตมีการคำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความ
เสี่ยงต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ Basel II ดังนี้
ความเสี่ยงด้านเครดิต ใช้วิธี Standardized Approach
ความเสี่ยงด้านตลาด สำหรับฐานะความเสี่ยงด้าน
ตลาด ใช้วิธี Standardized Approach
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ใช้วิธี Basic Indicator
Approach
นอกจากนี้ ธนาคารธนชาตมีประเมินความเพียงพอของ
เงินกองทุนในอนาคต จากงบประมาณและแผนธุรกิจสำหรับ
ระยะเวลา 3 ปี ค่าความเสี่ยงที่คำนวณได้จะใช้การกำหนด
เพดานความเสี่ยง (Risk Limit) ซึ่งฝ่ายบริหารความเสี่ยงจะมี
การจัดทำรายงานความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นประจำ
ทุกเดือนเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการ
ธนาคารเพื่อติดตามดูแลให้ธนาคารธนชาตมีเงินกองทุนหลัง
จัดสรรความเสี่ยงโดยรวมในปริมาณที่เพียงพอที่จะรองรับการ
เติบโตของธุรกิจตามแผนที่วางไว้อย่างมั่นคง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ธนาคารธนชาตมีเงินกองทุน
ทั้งสิ้นจำนวน 89,898 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1
จำนวน 71,335 ล้านบาท และเงินกองทุนชั้นที่ 2 สุทธิจำนวน
18,563 ล้านบาท มีอัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 14.75 เกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ ธปท.
กำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.50 ซึ่งนับว่ามีสัดส่วนมากเพียงพอที่จะ
รองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการขยายธุรกิจในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น